เมนู

บทว่า ชิมฺหํ คจฺฉติ แปลว่า เดินไปคด คือ ย่อมถือเอาแต่ที่
มิใช่ท่า. บทว่า เนตฺเต ชิมฺหํ คเต สติ ได้แก่ โคชื่อว่าเนตตา เพราะ
นำไป. อธิบายว่า เมื่อโคตัวนำเดินไปคด ถือเอาแต่ที่มิใช่ท่า โคแม้นอกนี้
ย่อมถือเอาแต่ที่มิใช่ท่าตามกัน ไป. ปาฐะว่า เนนฺเต ดังนี้ก็มี. บทว่า ทุกฺขํ
เสติ
แปลว่า ย่อมนอนเป็นทุกข์ อธิบายว่า ประสบทุกข์แล้ว.
จบอรรถกาธัมมิกสูตรที่ 10
จบปัตตกัมวรรควรรณนาที่ 2
พระสูตรปนกับคาถา จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปัตตกัมมสูตร 2. อันนนาถสูตร 3. สพรหมสูตร 4. นิรย-
สูตร 5. รูปสูตร 6. สราคสูตร 7. อหิสูตร 8. เทวทัตตสูตร 9.
ปธานสูตร 10. ธัมมิกสูตร และอรรถกถา.

อปัณณกวรรคที่ 3



10. ปธานสูตร


ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุสิ้นอาสวะ 4 ประการ


[71] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ
ชื่อว่า อปัณณกปฏิปทา (ข้อปฏิบัติไม่ผิด) และ เหตุแห่งความสิ้นอาสวะ
ชื่อว่าภิกษุนั้นได้เริ่มแล้ว ธรรม 4 ประการคืออะไร คือภิกษุในพระธรรม-
วินัยนี้ เป็นผู้มีศีล 1 เป็นพหูสูต 1 เป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว
1 เป็นผู้มีปัญญา ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ชื่อว่า
อปัณณกปฏิปทา และ เหตุแห่งความสิ้นอาสวะ ชื่อว่าภิกษุนั้นได้เริ่มแล้ว.
จบปธานสูตรที่ 1